เมนู

ทีฆจาริกวรรควรรณนาที่ 3


อรรถกถาปฐมทีฆจาริกสูตร


พึงทราบวินิจฉัยใน ปฐมทีฆจาริกสูตรที่ 1 แห่งวรรคที่ 3 ดังต่อ
ไปนี้ :-
บทว่า อนวฏฺฐจาริกํ ได้แก่ เที่ยวไปไม่มีกำหนด. บทว่า สุตํ
น ปริโยทเปติ
ความว่า ข้อใดที่เธอเคยฟังแล้ว ก็ไม่สามารถจะเข้าใจชัด
ข้อนั้นได้. บทว่า สุเตนเนกจฺเจน อวิสารโท โหติ ความว่า ย่อมไม่ถึง
โสมนัสด้วยข้อที่ได้ฟังมาคือความรู้ที่มีอยู่นิดหน่อย. บทว่า สมวฏฺฐจาเร
ได้แก่ ในการเที่ยวไปมีกำหนด.
จบอรรถกถาปฐมทีฆจาริกสูตรที่ 1

2. ทุติยทีฆจาริกสูตร


ว่าด้วยคุณและโทษของการจาริก


[222] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของภิกษุผู้ประกอบการเที่ยว
ไปนาน การเที่ยวไปไม่มีกำหนด 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน คือ
ย่อมไม่ได้บรรลุคุณวิเศษที่ยังไม่ได้บรรลุ 1 ย่อมเสื่อมจากคุณวิเศษที่ได้บรรลุ
แล้ว 1 ย่อมไม่แกล้วกล้าด้วยคุณวิเศษที่ได้บรรลุแล้วบางประการ 1 ย่อมได้
รับโรคเรื้อรังอย่างหนัก 1 ย่อมไม่มีมิตร 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของ
ภิกษุผู้ประกอบการเที่ยวไปนาน การเที่ยวไปไม่มีกำหนด 5 ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเที่ยวไปมีกำหนดพอสมควร 5
ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน คือ ย่อมได้บรรลุคุณวิเศษที่ยังไม่ได้บรรลุ 1
ย่อมไม่เสื่อมจากคุณวิเศษที่ได้บรรลุแล้ว 1 ย่อมแกล้วกล้าด้วยคุณวิเศษที่ได้
บรรลุแล้วบางประการ 1 ย่อมไม่ได้รับโรคเรื้อรังอย่างหนัก 1 ย่อมมีมิตร 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเที่ยวไปมีกำหนดพอสมควร 5 ประการ
นี้แล.
จบทุติยทีฆจาริกสูตรที่ 2

3. อภินิวาสสูตร


ว่าด้วยคุณและโทษของการอยู่อาศัย


[223] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในการอยู่ประจำที่ 5 ประการนี้
5 ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุอยู่ประจำที่ย่อมมีสิ่งของมาก มีการสะสม
สิ่งของมาก 1 มีเภสัชมาก 1 มีการสะสมเภสัชมาก 1 มีกิจมาก มีกรณีย-
มาก ไม่ฉลาดในกิจที่จะต้องทำ 1 ย่อมอยู่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิต
ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร 1 เมื่อจะหลีกไปจากอาวาสนั้น ย่อม
มีความห่วงใยหลีกไป 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในการอยู่ประจำที่ 5
ประการนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการอยู่มีกำหนดพอสมควร 5 ประการ
นี้ 5 ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุผู้อยู่มีกำหนดพอสมควร ย่อมไม่มีสิ่งของ
มาก ไม่มีการสะสมสิ่งของมาก 1 ไม่มีเภสัชมาก ไม่มีการสะสมเภสัชมาก 1
ไม่มีกิจมาก ไม่มีกรณียมาก ฉลาดในกิจที่จะต้องทำ 1 ไม่เป็นผู้คลุกคลีด้วย